วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของการเต้นรำแบบ Ball Room Dance


การเต้นรำที่จัดอยู่ในช่วงสมัยใหม่นั้นมีมานานเกือบสองศตวรรษแล้ว กล่าวคือเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1812 เมื่อมีการนำการจับคู่เต้นรำแบบใหม่คือ ชายจับมือและโอบเอวของคู่เต้นรำ (MODERN HOLD) มาใช้กับการนำการจับคู่เต้นรำจังหวะวอลทซ์ (WALTZ) ซึ่งในขณะนั้นได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายศาสนจักร


                                           การเต้นแบบ Ballroom Dance

มีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับกำเนิดของการเต้นรำจังหวะวอลทซ์ คือ ชาวฝรั่งเศสเชื่อว่ากำเนิดของวอลทซ์มาจากการเต้น "วอลต้า" (VOLTA) ซึ่งเป็นการเต้นรำแบบหมุนตัวสามครั้ง ที่เข้ามาในเมืองโปรวองซ์ (PROVENCE) จากประเทศอิตาลี ก่อนที่อาร์โบจะเขียนหนังสือชื่อ "อาคิโซกราฟี่" และเช็กสเปียร์ได้กล่าวถึงการเต้นรำแบบวอลต้าว่าเป็นการเต้นรำที่ผู้ชายจะเหวี่ยงคู่เต้นรำไป รอบๆ เรียกว่า "โซมาเจอร์" (SAUT MAJOR)ซึ่งพระนางแมรี่แห่งสก็อตแลนด์ และพระราชินีเอลิซาเบธ (ELIZABETH 1) แห่งอังกฤษทรงโปรดปรานมาก แต่ในปัจจุบันเชื่อกันว่ากำเนิดของวอลทซ์น่าจะมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี ในราวปี ค.ศ.1780 ซึ่งโทมัส วิลสัน (THOMAS WILSON) ครูสอนเต้นรำชาวอังกฤษแห่งโรงละครคิงส์ (KING'S THEATRE) ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับการเต้นรำจังหวะวอลทซ์ไว้ในหนังสือชื่อ "วอลทซ์ซิ่ง" (WALTZING) ซึ่งพิมพ์ในปี 1816 ไว้ว่า "วอลทซ์เป็นการเต้นรำชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนินจากชาวเยอรมัน เป็นที่รู้จักกันครั้งแรกในแคว้น สวาเบีย (SWABIA) ซึ่งเป็นหนึ่งในเก้าแคว้นของประเทศเยอรมนี และได้แพร่หลายไปยังแคว้นใกล้เคียงอื่นๆ หลังจากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วยุโรป ซึ่งลักษณะท่าทางการเต้นรำส่วนใหญ่ไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเท่านั้น ยังมีการเพิ่มเติมหลักการต่างๆ มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้เพื่อให้เป็นการเต้นรำที่ทันสมัยที่สุดแบบหนึ่ง

เมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่ 18 เข้าสู่ศตวรรษที่ 19 รูปแบบการเต้นรำจังหวะวอลทซ์เป็นการเต้นตามทำนอง 3-8 ซึ่ง
ค่อนข้างเป็นการเต้นรำแบบชุด (SET DANCE) โดยคู่เต้นรำยืนเป็นวงกลมรอบห้องจับมือกันไว้ การเต้นจะประกอบด้วยลวดลายต่างๆ กันหลายลวดลาย ดังหลักฐานภาพวาดการเต้นซึ่งวาดโดย โทมัส โรว์แลนด์สัน (THOMAS ROWLANDSON) ในหนังสือของวิลสันที่พิมพ์ในปี ค.ศ.1806

ประมาณปี ค.ศ.1812 การเต้นรำจังหวะวอลทซ์ที่มีการจับคู่แบบใหม่ก็ฝังรากลึกลงในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ (CARL MARIA VON WEBER) ผู้ประพันธ์เพลง "แดร์ ไฟรชิทซ์" และ "โอเบอรอง" ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงมากคือ "อินวิเทชั่นอาลาวัลส์"(INVITATION A'LA VALSE) ซึ่งพจนานุกรมของโกรฟ (GROVE'S DICTIONARY)อธิบายว่าเป็นการปรับปรุงรูปแบบของวอลทซ์ให้เป็นดนตรีอย่างแท้จริง ซึ่งการเต้นวอลทซ์ที่มีการจับคู่แบบใหม่นี้ ในตอนแรกได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายศาสนจักร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ปกครองมีการเสียดสีเยาะเย้ยเพื่อมิให้สาวๆ เข้าร่วมในการเต้นรำ แต่สภาพการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ในที่สุดสังคมก็ยอมรับการเต้นรำแบบใหม่นี้เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ (ALEXANDER) แห่งรัสเซียได้เต้นรำจังหวะวอลทซ์ที่อัลแมค (ALMACK'S HALL) ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับผู้มีเกียรติยศชั้นสูง

ความก้าวหน้าของการเต้นรำที่เราเรียกว่าเป็นการเต้นรำสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ.1830-1840 เมื่อมีการเต้นรำแบบใหม่ๆ มากขึ้น รวมทั้งการเต้นโพลก้า (POLKA) ซึ่งมีกำเนิดจากโบฮีเมีย(BOHEMIA) มาเซอร์ก้า (MAZURKA) จากโปแลนด์ และชาติชขึ้นในสถานที่เต้นรำต่างๆ ในขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มที่จะตัดลวดลายการเต้นที่เคยมีมา เช่น อองเตรอะชา และรองด์เดอชองเบอะ ซึ่งอยู่ในการเต้นรำแบบ "กาดริย์" และการเต้นรำแบบอื่นๆ ออกไป ในปี ค.ศ.1848 เซลลาริอุส ครูสอนเต้นรำที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีส่วนเคลื่อนไหวสำคัญในการปฏิรูปการเต้นรำ ได้เขียนหนังสือชื่อ "การเต้นรำที่ทันสมัย" (FASHIONABLE DANCING) มีข้อความที่น่าสนใจคือ "ในขณะนี้ผู้เต้นรำวัยหนุ่มสาวถูกกล่าวหาว่ามาเดินมิใช่มาเต้นรำ พวกเขาทำผิดหรือไม่การที่ไม่เต้นอองเตรอะชาและรองด์เดอชองเบอะ และการเต้นที่ยุ่งยากในสมัยก่อนซึ่งยากที่จะจดจำ ไม่สมบูรณ์ และตลกที่สุด ซึ่งมีผู้นำมาแสดงตามเวทีโรงละคร มันเป็นศิลปะที่สมบูณ์หรือไม่"


                                      พระนางวิคตอเรีย (ค.ศ. 1837-1901)

เมื่อสิ้นสุดสมัยพระนางวิคตอเรีย (VICTRIA ERA) การเต้นรำแบบบอลรูมมีแนวโน้มว่าจะหยุดอยู่กับที่ ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าเนื่องจากขาดดการพัฒนารูปแบบการเต้นแบบใหม่ๆ มีการนำการเต้นแบบทูสเต็ป(TWO STEP) ซึ่งนิยมเต้นกันในนิวยอร์กเข้ามาในอังกฤษ แต่เป็นการเต้นแบบ "แชสเซ่อาตรัวปาส"(CHASSE' A' TROIS PAS) จนกระทั่งในตอนต้นศตวรรษที่ 20 นี้ ก็ได้มีการเต้นรำแบบใหม่ๆ ที่ใช้เต้นกับดนตรีจังหวะวอลทซ์ที่เรียกว่าการเต้น "บอสตัน" (BOSTON) และการเต้น "แร็ก" (RAG)ซึ่งการเต้นรำแบบใหม่ๆนี้เป็นที่นิยมของคนหนุ่มสาวซึ่งเบื่อหน่ายวอลทซ์และการเต้นรำแบบใหม่นี้ก็ได้สร้างความมีชีวิตชีวาให้แก่สถานที่เต้นรำขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

เยาวชนซึ่งเต้นรำตามสโมสรต่างๆ ก่อนหน้าสงครามปี ค.ศ.1914 ได้เปลี่ยนแปลงเทคนิคและรูปแบบการเต้นรำของครูเก่าๆ เกี่ยวกับการก้าวเท้า 5 ตำแหน่ง และการเคลื่อนไหวที่สวยงาม และเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 สถาบันเต้นรำเก่าๆ เปลี่ยนบรรดากรรมการ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงการเต้นขึ้นโดยบรรดานักเต้นรำด้วยกันเอง กล่าวคือ "ไปตามสบาย
อย่างอิสระที่ต้องการในการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติอาจจะมากกว่า หรือน้อยกว่าก็ได้" ซึ่งเทคนิคการเต้นรำใหม่นี้มีพื้นฐานจากการเคลื่อนไหวตามธรรมชาตินั่นเอง และการเกิดขึ้นของการเต้นรำในจังหวะฟอกซ์ทร็อต (FOXTROT)

ในปี ค.ศ.1914 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากก็ยิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นจนไม่เหลือเทคนิคเก่าๆ อีกเลย 
การเต้นรำที่ไม่มีกฎเกณฑ์นี้เกิดขึ้นจนกระทั่งปี ค.ศ.1918 หลังจากที่มีการประกาศยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงได้เริ่มมีการวางกฎเกณฑ์ขึ้นในปี ค.ศ.1920 โดย "เดอะด๊านซิ่งไทม์" (THE DANCING TIMES) ได้จัดให้มีการประชุมครูสอนเต้นรำขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเพื่อพยายามวางกฎเกณฑ์ และแบบแผนของการเต้นฟอกซ์ทร็อตและวันสเต็ป (ONE STEP) ให้เป็นมาตรฐาน และได้มีการสาธิตการเต้นรำจังหวะฟอกซ์ทร็อต โดยมี มัวไรซ์และลีโอโนรา ฮิวส์ (MAURICE AND LEONORA HUGHES) เป็นผู้สาธิตการเต้นด้วย ซึ่งครูสอนเต้นรำเหล่านี้เป็นกลุ่มนักเต้นรำรุ่นแรกๆ ของโลก ที่รับรู้ว่าการเต้นรำแบบเก่าๆ หมดไปแล้ว และได้พัฒนาเทคนิคการเต้นรำแบบบอลรูมใหม่ (MODERN BALLROOM) ให้มีพื้นฐษนการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ ด้วยการก้าวเท้าไปตามแนวทิศทางของการเดิน (ALIGNMENT) ในการลีลาศ 

ต่อมาในปี ค.ศ.1924 ครุสอนเต้นรำกลุ่มนี้ได้เลือกตั้งคณะกรรมการของสมาคมครูสอนเต้นรำในสาขาการเต้นรำแบบบอลรูมขึ้นเป็นครั้งแรก (COMMITTEE OF THE "BALLROOM BRANCH" OF THE IMPERIAL SOCIETY OF TEACHERS OF DANCING) ซึ่งคณะกรรมการชุดแรกนี้ประกอบด้วย โจเซฟิน แบรดเลย์ , อีฟ ทีนนีเกท สมิช , มัวรีล ซิมมอนส์ , ลิสลี ฮัมฟรีย์ และวิคเตอร์ ซิลเวสเตอร์ สมาคมครูสอนเต้นรำนี้ได้พัฒนาและกำหนดแบบแผนการเต้นรำมาจนถึงปัจจุบันที่เรียกกันว่าการเต้นรำ "สไตล์อังกฤษ" ซึ่งได้รับการเผยแพร่และมีอิทธิพลไปทั่วโลก

ในปี ค.ศ.1929 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการลีลาศ (OFFICIAL BOARD OF BALLROOM DANCING) ขึ้นในประเทศอังกฤษและได้ทำหน้าที่จัดการแข่งขันลีลาศขึ้นทุกปีโดยเริ่มจัดแข่งขันชิงแชมเปี้ยนสหราชอาณาจักรขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองแบลคพูล (BLACKPOOL) 

ปี ค.ศ.1950 ประเทศต่างๆ ได้ร่วมกันก่อตั้งสภาการลีลาศนานาชาติขึ้น (INTERNATIONAL COUNCIL OF BALLROOM CANCING : I.C.B.D.) และในปีเดียวกันนี้ได้มีการนำจังหวะเต้นรำใหม่ๆ มาเผยแพร่อีก เช่น จังหวะแมมโบ้ และ ชา ชา ช่า เป็นต้น และในปี ค.ศ.1953 ได้จัดให้มีการแข่งขันลีลาศชิงแชมเปี้ยนระหว่างประเทศขึ้นที่ อับเบิร์ต ฮอลล์ ในมหาลอนดอน 

ปี ค.ศ.1959 ได้มีการจัดแข่งขันลีลาศชิงแชมเปี้ยนโลกขึ้นที่ประเทศอังกฤษ โดยจัดแข่งขันทั้งประเภทสมัครเล่นและอาชีพ ตามกฎเกณฑ์ที่สภาการลีลาศระหว่างประเทศกำหนด จังหวะที่จัดให้มีการแข่งได้แก่ วอลทซ์แบบอังกฤษ ฟอกซ์ทร็อต แทงโก้ ควิกสเตป และควิกวอลทซ์หรือเวียนนิสวอลทซ์ ในโอกาสนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ได้แนะนำการเต้นรำจังหวะร็อคแอนด์โรลให้ชาวโลกได้รู้จัก 


ในสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ.1960 มีการเต้นรำจังหวะใหม่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นโดยอเมริกันนิโกร คือ จังหวะทวิสต์(TWIST) การเต้นรำจะใช้การบิดลำตัว เข่าโค้งงอ การเต้นไม่จำเป็นต้องจับคู่กัน คือต่างคนต่างเต้น และจังหวะฮัลเซ่ล ซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลก 

ปี ค.ศ.1970 จังหวะการเต้นรำที่เรียกว่าดิสโก้ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นจังหวะที่ผู้เต้นสามารถเต้นได้ตามลำพัง และรูปแบบการเต้นการเคลื่อนไหวขึ้นอยู่กับผู้เต้นเอง เป็นการเต้นรำที่ผู้เต้นมีอิสระ
ในการเคลื่อนไหวอย่างมาก


                 ปัจจุบันมีการเต้นรำแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกหลายจังหวะ เช่น แฟลชแด๊นซ์ (FLASH DANCE) เบรกแด๊นซ์ (BRAKE DANCE) และแร็พ (RAP) ซึ่งมักมีกำเนิดจากอเมริกันนิโกร และยังมีการเต้นรำโดยใช้ท่าบริหารร่างกายประกอบจังหวะดนตรี ที่เรียกว่า "แอโรบิกแด๊นซ์" ซึ่งได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน การเต้นรำในแบบต่างๆ เหล่านี้ไม่จัดอยู่ประเภทของการลีลาศ

การฝึกเต้น ballroom dance



คำถาม
  • การเต้นแบบ Ballroom Dance เริ่มขึ้นในช่วงใด
    1. ในช่วงที่มีความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
    2. ในสมัยก่อนพุทธกาล
    3. ในคริสตศตวรรษที่ 19
    4. ถูกทุกข้อ

    ในปี ค.ศ.ใด ที่ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการลีลาศ (OFFICIAL BOARD OF BALLROOM DANCING) ขึ้นในประเทศอังกฤษและได้ทำหน้าที่จัดการแข่งขันลีลาศขึ้นทุกปี
    1. ค.ศ. 929
    2. ค.ศ. 1529
    3. ค.ศ. 1929
    4. ค.ศ. 2529

    ในปี ค.ศ.1959 ได้มีการจัดแข่งขันลีลาศชิงแชมเปี้ยนโลกขึ้นที่ประเทศอังกฤษ โดยจัดแข่งขันทั้งประเภทสมัครเล่นและอาชีพ ตามกฎเกณฑ์ที่สภาการลีลาศระหว่างประเทศกำหนด ข้อใดไม่ใช่จังหวะที่จัดให้มีการแข่ง
    1. วอลทซ์แบบอังกฤษ
    2. ฟอกซ์ทร็อต
    3. แทงโก้
    4. เต้นแอโรบิก

    ในปี ค.ศ.1848 เซลลาริอุส ครูสอนเต้นรำที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีส่วนเคลื่อนไหวสำคัญในการปฏิรูปการเต้นรำ ได้เขียนหนังสือชื่อ "การเต้นรำที่ทันสมัย" ข้อใดคือข้อความในหนังสือเล่มนี้

    1. ในขณะนี้ผู้เต้นรำวัยหนุ่มสาวถูกกล่าวหาว่ามาเดินมิใช่มาเต้นรำ
    2. ในการเต้นรำต้องมีการปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศอย่างรุนแรง
    3. การเต้นรำสมัยใหม่เป็นรากฐานของการรำวงมาตรฐานในประเทศไทย
    4. ถูกทุกข้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น