วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติทางการแพทย์

การรักษาในยุคแรกๆ
                 ในสังคมยุคโบราณ มนุษย์จะมองการเจ็บป่วยเป็นการลงโทษจากพระเจ้า การรักษาจะใช้พิธีการสวดมนต์ ประกอบพิธีกรรมเป็นหลัก โดยถือว่าเป็นยาวิเศษ ยาส่วนใหญ่ได้จากต้นไม้ พืชแถบท้องถิ่นบริเวณนั้นๆ การใช้ยาจากสมุนไพรชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดในการรักษาเป็นผลมาจากการลองผิดลองถูก


การแพทย์ยุคอียิปต์โบราณ
The Ebers Papyrus of Ancient Egypt

                  ในยุคอียิปต์โบราณมีตำราเกิดขึ้นบันทึกเขียนบนกระดาษ ชื่อว่า 'The Ebers Papyrus' ในเภสัชตำรับนี้มีสูตรยา 800 ตำรับและกล่าวถึงตัวยา 700 ชนิด โดยตัวยาเหล่านี้แพทย์อียิปต์จะเตรียมในรูปของยาชง, ไวน์, ยาต้ม, ยาลูกกลอน, ครีม และยาพอก(paultics) มีการใช้โคลนพอกและขนมปังที่มีเชื้อราขึ้น พอกบาดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่อเวลา 1,000 ปีต่อมา เราพบว่า ดินโคลน, ขนมปังราขึ้นจะมีเชื้อจุลทรีย์ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของยาปฏิชีวนะที่ใช้ในปัจจุบัน


ตำรับยาภาษาจีน,ฮิปบรู,และสันสกฤต
                   เมื่อประมาณ 2000 กว่าปีก่อน มีเภสัชตำรับของจีนชื่อว่า 'Pen Tsao' ใช้กันแพร่หลายในยุคจักรพรรดิ์ 'Shen Nung' เภสัชตำรับนี้อธิบายการใชัน้ำมันกระเบา (chaumoograoil) จากต้นกระเบารักษาโรคเรื้อน ในอินเดีย แพทย์พื้นเมืองอินเดียหลายชั่วอายุคนได้ถือคัมภีร์อายุรเวท (Ayurvede ) เป็นคัมภีร์แพทย์ของฮินดู คาดว่าถูกเขียนขึ้นในช่วงแรกศตวรรษ อาจเลยไปถึงยุค ฤษี ฤค (Rig Veda) และบทสวดมนต์ที่มอบให้เทพเจ้าแห่งยาเสพติด "โซม่า" (Soma) ตั้งแต่ได้ค้นพบฤทธิ์ยาเสพติดและฤทธิ์หลอนประสาทจากเห็ด  คัมภีร์อายุรเวทถูกเขียนบันทึกครั้งแรกเป็นภาษาสันสกฤต ได้ระบุถึงพืชสมุนไพรที่ใช้ในการรักษา และคัมภีร์' The Charaka Samhita ' ของอินเดียรจนาระบุถึงต้นไม้ยาสมุนไพรถึง 500 กว่าชนิด


อิทธิพลยุคกรีก
                    ในยุคกรีกโบราณงานแพทย์ถูกปฏิบัติโดยแพทย์ฆราวาสที่ไม่ใช่หมอพระ การรักษาเต็มไปด้วยบทสวดมนต์และสรรเสริญและความลึกลับดำเนินเป็นไปเวลาหลายวันมีการอดอาหารและอาบน้ำ มันทำให้อารมณ์ผู้ป่วยสงบเยือกเย็น (การอดอาหารจนกระเพาะว่างมันอาจช่วยให้ตัวยาสมุนไพรออกฤทธิ์ได้ดีประมาณ 400 ปีก่อนคริตศักราช มีชาวกรีกนามว่า "ฮิปโปเครติส" สร้างปรากฏการณ์ทางแพทย์ออกจากไสยศาสตร์ และความเชื่องมงายทางศาสนา เขาเน้นว่าการแพทย์เป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ ฮิปโปเครติส ได้รับการขนานนามว่า เป็น บิดาของการแพทย์สมัยใหม่ การสั่งสอนของเขาเน้นในเรื่อง การอดอาหาร การดำรงวิถีชีวิตที่ควร การออกกำลังกาย การได้รับแสงแดดและน้ำอย่างพอเพียง เขาวางหลักการทางแพทย์ไว้ว่า "สิ่งสำคัญคือการรักษาที่ไม่ก่อเกิดอันตราย" ฮิปโปเครติส เชื่อว่าธาตุทั้ง 4 คือ ไฟ,น้ำ,ดิน,ลมเป็นตัวแทนร่างกายของมนุษย์ ตำราของฮิปโปเครติสกล่าวถึงพืชที่ใช้รักษาถึง 300 ถึง 400 กว่าชนิด หลังยุคฮิปโปเครติสก็มาถึงยุคอริสโตเตลมีความพยายามจัดทำบัญชีรายการพืชที่ใช้ ทางยา ในยุคศตวรรษแรก ชาวกรีกจะเป็นผู้บุกเบิกเภสัชตำรับสมัยใหม่และมีอิทธิพลอยู่ในด้านตำรายาสมุนไพร


ยุคโรมันก้าวหน้า (Roman Advances)
                    ในศตวรรษแรก จะมุ่งไปยังการอดอาหาร, ยา และการผ่าตัด โรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้อทั้งหลายจะถูกรักษาด้วยการอดอาหารและการพักผ่อนในหลักการของฮิปโปเครติส การปรับสมดุลย์ร่างกายโดยวิธีผ่าตัด ซึ่งโดยมากเป็นการนำเลือดออกจากร่างกาย มีการใช้น้ำผึ้งและไวน์ช่วยในการผ่าตัด นอกจากนี้ก็ใช้สมุนไพร ผักชี, ยี่หร่า รวมทั้งพืชที่ใช้เป็นยาถ่ายล้างลำไส้ บรรเทาอาการเท่านั้นแล้วปล่อยให้ธรรมชาติดำเนินการต่อไป ในศตวรรษที่หนึ่งนายแพทย์ผู้หนึ่งชื่อ ปลีนี (Pliny)เขียนหนังสือชุด "ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ" เป็นการรวมรวบตำรับตำราของทั้งกรีกและโรมันนับพันๆ เล่มเขียนขึ้นเป็นชุดเนื้อหาสาระของชุดหนังสือนี้ถูกถ่ายทอดตกมาเป็นการรักษาแบบพื้นบ้าน ชนชาวยุโรปและอเมริกา ประวัติศาสตร์ธรรมชาติมีการบุกเบิกการทดลองการแพทย์โดยใช้สัตว์


การแพทย์ภายใต้ศาสนจักร
                    การแพทย์ที่เดิมถูกใช้ไปกับผู้ป่วยคนไข้กลายเป็นเครื่องมือการเผยแผ่ศาสนา ทางศาสนาจักรจะเห็นว่า การเจ็บป่วยเป็นการลงโทษแก่ผู้มีบาป คนไข้เพียงแต่สวดมนต์อ้อนวอน อย่างไรก็ตามวิชาความรู้ทางแพทย์จากกรีก, โรมันได้ถูกจัดเก็บเป็นเอกสารโบราณในวัด โบสถ์ ศาสนสถานต่างๆ แม้ว่าฝ่ายศาสนาจักรจะไม่ยอมรับหรือส่งเสริมความก้าวหน้าการแพทย์ของพวกที่ไม่ใช่ชาวคริสเตียนก็ตาม มีทดลองหาคุณสมบัติพืชสมุนไพรต่างๆ หนึ่งในบรรดานั้นคือยาสลบที่ใช้ในการผ่าตัด ซึ่งตัวยาจะมีฝิ่น ทำให้คนไข้หลับยาวสนิท ไม่รู้สึกเจ็บปวด


การแพทย์อาหรับ, ยุคเล่นแร่แปรธาตุในสมัยกลาง
                  พวกอาหรับจะกลั่นกรองตำรับทฤษฎีต่างๆ บนพื้นฐานการทดลองกับคน นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมพืชสมุนไพรบางชนิดลงไปด้วยในตำรับ ในยุคนี้มีนายแพทย์ผู้ถือกำเนิดในเปอร์เซีย ตอนต้นศตวรรษที่ 9ได้เขียนตำรับรวบรวมคำอธิบายไข้ทรพิษ(ฝีดาษ)และหัด(measle)ขึ้นเป็นครั้งแรก ราวหนึ่งร้อยปีต่อมาได้มาถึงยุคทองของประวัติศาสตร์อิสลาม นายแพทย์ผู้หนึ่งชื่อว่า "อวิเซนนา" ถือได้ว่าเป็นเจ้าชายของบรรดาแพทย์ทั้งหลายเขาได้เขียนตำราที่ชื่อว่า "His cannon of Medicine" ได้กล่าวถึงคำสอนของ กาเลนและอริสโตเติล ตำราเล่มนี้ได้ถูกใช้ทั่วไปยุโรปใน ค.ศ.ที่17 ปัจจุบันในแถบตะวันออกยังคงใช้อยู่ พวกอิสลามได้สร้างโรงพยาบาลสำหรับประชาชนทั่วไป, สร้างรากฐานการศึกษาทางแพทย์ ริเริ่มให้มีการตรวจวินิฉัยและการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ แม้ว่าพวกอาหรับจะนำหลักปรัชญาผสมกับหลักเคมี ที่เรียกว่า การเล่นแร่แปรธาตุนั้น มันเป็นจุดเริ่มแพร่หลายไปส่วนต่างๆ ของโลก


ยุคเรเนอร์ซอง
                   นายแพทย์ ลีโอนาโด ดาวินซี อัจฉริยะผู้ยิ่งใหญ่ได้แรงบันดาลใจผลักดันจากการศึกษาโครงสร้างร่างกายมนุษย์ ได้ทำการผ่าตัดศพหลายครั้งหลายหน ภาพวาดที่คุณค่าทั้งทางศิลปะและวิทยาศาสตร์กว่า 750 ภาพ เป็นภาพกายวิภาคที่ละเอียดละออถือเป็นสมบัติให้ชนรุ่นหลัง หนึ่งในบรรดาแพทย์รุ่นหลังต่อมา คือ แอนดรีรัส เวซาเลียส นายแพทย์ระดับศาสตราจารย์ ของมหาวิทยาลัย พาดูอ(Padua) การผ่าตัดของ เวซาเลียสถูกเขียนเป็นตำราการแพทย์กายวิภาคที่ชื่อว่า " On the Fabric of the Human " เป็นตำราพื้นฐานด้านกายภาคของมนุษย์ยุคใหม่ ที่ถูกต้องและพัฒนาขึ้นมากกว่าของ กาเลน มากผลงานของลีโอนาโด ดาวินซีและ เวซาเลียส แปลเปลื่ยนมาเป็นตำราผ่าตัดและผู้ที่นำมาสร้างคุณประโยชน์เห็นจะได้แก่ Ambroise Pare หมอทหารผ่าตัด ชาวฝรั่งเศล ได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งการผ่าตัดสมัยใหม่
ลีโอนาโด ดาร์วินชี

เส้นทางสู่การแพทย์ยุคสมัยใหม่
                  ในยุคเรเนอร์ซอง ปี ค.ศ.1600 ชายผู้มีนามว่า วิลเลี่ยม ฮารเวย์ ได้อธิบายระบบไหลเวียนโลหิตเป็นครั้งแรก มีการพัฒนากล้องจุลทรรศน์ขึ้นปลาย ค.ศ.นี้โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวดัทช์ อันโทนี่ ลีแวนฮุก ทำให้สามารถศึกษาพวกเชื้อจุลินทรีย์ได้ เอ็ดเวอดเจนเนอร์ สามารถใช้ฝีหนองจากวัวมาทำเป็นวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษเป็นปฐมบทแห่งการสร้างภูมิคุ้มกันโรค การค้นพบการแพทย์ได้ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 19 ทฤษฎีที่ว่า จุลินทรีย์เป็นต้นตอให้เกิดโรคได้ตั้งขึ้นโดย หลุย ปาสเตอร์ และโรเบริต์ คุช ได้นำการผ่าตัดโดยปราศจากเชื้อมาใช้ โจเซฟ ลีสเตอร์ สานต่อนอกจากความสะอาดแล้วต้องปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ด้วย ในปี ค.ศ.1840 ทันตแพทย์ชื่อ วิลเลียม ที มอร์ตันได้แสดงคุณค่าของ อีเธอร์ที่มีคุณสมบัติใช้เป็นยาสลบได้ซึ่งสามารถช่วยให้การผ่าตัดง่ายขึ้นและลดความเสี่ยงจากการใข้ยาสลบแบบเดิมลง ในปี ค.ศ.1898 สองสามี-ภรรยาตระกูลคูรี ได้ค้นพบการแพร่กัมมันตภาพรังสีของธาตุเรเดียม ซึ่งได้ถูกนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ต่อมา


คุณรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ "ประวัติทางการแพทย์" มากน้อยแค่ไหน?
1. ชาติใดที่ริเริ่มการบันทึกตำราทางการแพทย์ด้วยกระดาษ 
    (กรีก/อียิปต์/อาหรับ/จีน)
2. ชาติใดเป็นผู้ที่ริเริ่มการเล่นแร่แปรธาตุเพื่อใช้ในการแพทย์
    (กรีก/อียิปต์/อาหรับ/จีน)
3. ใครเป็นแพทย์ที่มีชื่อเลียงมากในสมัยเรเนซอง
    (ฮิปโปเครติส/อวิเซนนา/ลีโอนาโด ดาวินซี/หลุย ปาสเตอร์)
4. คัมภีร์ทางศาสนาของชาวฮินดูที่บันทึกเกี่ยวกับการแพทย์มีชื่อว่าอะไร
    (ฤคเวท/ไบเบิล/รามายณะ/ไตรปิฎก)





มารยาทการเต้นลีลาศ

  • แต่งกายให้สะอาด ถูกต้อง และเหมาะสมตามกาลเทศะซึ่งจะเป็นการสร้างความสนใจในบุคลิกภาพของตนเอง
  • อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นตัว
                                             
  • ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือกับคู่ลีลาศของตน
  • มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความสนใจในการเต้นลีลาศ
  • สุภาพบุรุษต้องให้เกียติสุภาพสตรี และบุคคลอื่นในทุก สถาณการณ์ และจะต้องไปรับ  สุภาพสตรีที่ตนเชิญไปร่วมงาน
  • ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุในบัตรเชิญ
  • ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือของคบเคี้ยวใดๆ ในขณะลีลาศ



  • ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเอง หรือคู่ลีลาศ
  • ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่ ถ้ารู้สึกว่าตัวเองเมามากไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
  • ไม่ควรออกลีลาศกับคู่เพศเดียวกัน
บททดสอบของคู่เต้นรำที่ดี
สิ่งใดต่อใปนี้ที่คุณควร และไม่ควรทำเมื่อลีลาศ
1. ฉีดน้ำหอมครึ่งขวดก่อนเริ่มลีลาศ เพื่อให้คู่เต้นประทับใจ
2. ให้เกียรติคู่เต้นรำของคุณ
3. ดื่มสุราเพื่อรวบรวมความกล้าก่อนที่จะออกเต้นลีลาศ
4. เคี้ยวหมากฝรั่งขณะลีลาศ
5. ฝึกซ้อมสม่ำเสมอ

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของการเต้นรำแบบ Ball Room Dance


การเต้นรำที่จัดอยู่ในช่วงสมัยใหม่นั้นมีมานานเกือบสองศตวรรษแล้ว กล่าวคือเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1812 เมื่อมีการนำการจับคู่เต้นรำแบบใหม่คือ ชายจับมือและโอบเอวของคู่เต้นรำ (MODERN HOLD) มาใช้กับการนำการจับคู่เต้นรำจังหวะวอลทซ์ (WALTZ) ซึ่งในขณะนั้นได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายศาสนจักร


                                           การเต้นแบบ Ballroom Dance

มีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับกำเนิดของการเต้นรำจังหวะวอลทซ์ คือ ชาวฝรั่งเศสเชื่อว่ากำเนิดของวอลทซ์มาจากการเต้น "วอลต้า" (VOLTA) ซึ่งเป็นการเต้นรำแบบหมุนตัวสามครั้ง ที่เข้ามาในเมืองโปรวองซ์ (PROVENCE) จากประเทศอิตาลี ก่อนที่อาร์โบจะเขียนหนังสือชื่อ "อาคิโซกราฟี่" และเช็กสเปียร์ได้กล่าวถึงการเต้นรำแบบวอลต้าว่าเป็นการเต้นรำที่ผู้ชายจะเหวี่ยงคู่เต้นรำไป รอบๆ เรียกว่า "โซมาเจอร์" (SAUT MAJOR)ซึ่งพระนางแมรี่แห่งสก็อตแลนด์ และพระราชินีเอลิซาเบธ (ELIZABETH 1) แห่งอังกฤษทรงโปรดปรานมาก แต่ในปัจจุบันเชื่อกันว่ากำเนิดของวอลทซ์น่าจะมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี ในราวปี ค.ศ.1780 ซึ่งโทมัส วิลสัน (THOMAS WILSON) ครูสอนเต้นรำชาวอังกฤษแห่งโรงละครคิงส์ (KING'S THEATRE) ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับการเต้นรำจังหวะวอลทซ์ไว้ในหนังสือชื่อ "วอลทซ์ซิ่ง" (WALTZING) ซึ่งพิมพ์ในปี 1816 ไว้ว่า "วอลทซ์เป็นการเต้นรำชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนินจากชาวเยอรมัน เป็นที่รู้จักกันครั้งแรกในแคว้น สวาเบีย (SWABIA) ซึ่งเป็นหนึ่งในเก้าแคว้นของประเทศเยอรมนี และได้แพร่หลายไปยังแคว้นใกล้เคียงอื่นๆ หลังจากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วยุโรป ซึ่งลักษณะท่าทางการเต้นรำส่วนใหญ่ไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเท่านั้น ยังมีการเพิ่มเติมหลักการต่างๆ มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้เพื่อให้เป็นการเต้นรำที่ทันสมัยที่สุดแบบหนึ่ง

เมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่ 18 เข้าสู่ศตวรรษที่ 19 รูปแบบการเต้นรำจังหวะวอลทซ์เป็นการเต้นตามทำนอง 3-8 ซึ่ง
ค่อนข้างเป็นการเต้นรำแบบชุด (SET DANCE) โดยคู่เต้นรำยืนเป็นวงกลมรอบห้องจับมือกันไว้ การเต้นจะประกอบด้วยลวดลายต่างๆ กันหลายลวดลาย ดังหลักฐานภาพวาดการเต้นซึ่งวาดโดย โทมัส โรว์แลนด์สัน (THOMAS ROWLANDSON) ในหนังสือของวิลสันที่พิมพ์ในปี ค.ศ.1806

ประมาณปี ค.ศ.1812 การเต้นรำจังหวะวอลทซ์ที่มีการจับคู่แบบใหม่ก็ฝังรากลึกลงในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ (CARL MARIA VON WEBER) ผู้ประพันธ์เพลง "แดร์ ไฟรชิทซ์" และ "โอเบอรอง" ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงมากคือ "อินวิเทชั่นอาลาวัลส์"(INVITATION A'LA VALSE) ซึ่งพจนานุกรมของโกรฟ (GROVE'S DICTIONARY)อธิบายว่าเป็นการปรับปรุงรูปแบบของวอลทซ์ให้เป็นดนตรีอย่างแท้จริง ซึ่งการเต้นวอลทซ์ที่มีการจับคู่แบบใหม่นี้ ในตอนแรกได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายศาสนจักร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ปกครองมีการเสียดสีเยาะเย้ยเพื่อมิให้สาวๆ เข้าร่วมในการเต้นรำ แต่สภาพการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ในที่สุดสังคมก็ยอมรับการเต้นรำแบบใหม่นี้เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ (ALEXANDER) แห่งรัสเซียได้เต้นรำจังหวะวอลทซ์ที่อัลแมค (ALMACK'S HALL) ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับผู้มีเกียรติยศชั้นสูง

ความก้าวหน้าของการเต้นรำที่เราเรียกว่าเป็นการเต้นรำสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ.1830-1840 เมื่อมีการเต้นรำแบบใหม่ๆ มากขึ้น รวมทั้งการเต้นโพลก้า (POLKA) ซึ่งมีกำเนิดจากโบฮีเมีย(BOHEMIA) มาเซอร์ก้า (MAZURKA) จากโปแลนด์ และชาติชขึ้นในสถานที่เต้นรำต่างๆ ในขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มที่จะตัดลวดลายการเต้นที่เคยมีมา เช่น อองเตรอะชา และรองด์เดอชองเบอะ ซึ่งอยู่ในการเต้นรำแบบ "กาดริย์" และการเต้นรำแบบอื่นๆ ออกไป ในปี ค.ศ.1848 เซลลาริอุส ครูสอนเต้นรำที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีส่วนเคลื่อนไหวสำคัญในการปฏิรูปการเต้นรำ ได้เขียนหนังสือชื่อ "การเต้นรำที่ทันสมัย" (FASHIONABLE DANCING) มีข้อความที่น่าสนใจคือ "ในขณะนี้ผู้เต้นรำวัยหนุ่มสาวถูกกล่าวหาว่ามาเดินมิใช่มาเต้นรำ พวกเขาทำผิดหรือไม่การที่ไม่เต้นอองเตรอะชาและรองด์เดอชองเบอะ และการเต้นที่ยุ่งยากในสมัยก่อนซึ่งยากที่จะจดจำ ไม่สมบูรณ์ และตลกที่สุด ซึ่งมีผู้นำมาแสดงตามเวทีโรงละคร มันเป็นศิลปะที่สมบูณ์หรือไม่"


                                      พระนางวิคตอเรีย (ค.ศ. 1837-1901)

เมื่อสิ้นสุดสมัยพระนางวิคตอเรีย (VICTRIA ERA) การเต้นรำแบบบอลรูมมีแนวโน้มว่าจะหยุดอยู่กับที่ ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าเนื่องจากขาดดการพัฒนารูปแบบการเต้นแบบใหม่ๆ มีการนำการเต้นแบบทูสเต็ป(TWO STEP) ซึ่งนิยมเต้นกันในนิวยอร์กเข้ามาในอังกฤษ แต่เป็นการเต้นแบบ "แชสเซ่อาตรัวปาส"(CHASSE' A' TROIS PAS) จนกระทั่งในตอนต้นศตวรรษที่ 20 นี้ ก็ได้มีการเต้นรำแบบใหม่ๆ ที่ใช้เต้นกับดนตรีจังหวะวอลทซ์ที่เรียกว่าการเต้น "บอสตัน" (BOSTON) และการเต้น "แร็ก" (RAG)ซึ่งการเต้นรำแบบใหม่ๆนี้เป็นที่นิยมของคนหนุ่มสาวซึ่งเบื่อหน่ายวอลทซ์และการเต้นรำแบบใหม่นี้ก็ได้สร้างความมีชีวิตชีวาให้แก่สถานที่เต้นรำขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

เยาวชนซึ่งเต้นรำตามสโมสรต่างๆ ก่อนหน้าสงครามปี ค.ศ.1914 ได้เปลี่ยนแปลงเทคนิคและรูปแบบการเต้นรำของครูเก่าๆ เกี่ยวกับการก้าวเท้า 5 ตำแหน่ง และการเคลื่อนไหวที่สวยงาม และเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 สถาบันเต้นรำเก่าๆ เปลี่ยนบรรดากรรมการ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงการเต้นขึ้นโดยบรรดานักเต้นรำด้วยกันเอง กล่าวคือ "ไปตามสบาย
อย่างอิสระที่ต้องการในการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติอาจจะมากกว่า หรือน้อยกว่าก็ได้" ซึ่งเทคนิคการเต้นรำใหม่นี้มีพื้นฐานจากการเคลื่อนไหวตามธรรมชาตินั่นเอง และการเกิดขึ้นของการเต้นรำในจังหวะฟอกซ์ทร็อต (FOXTROT)

ในปี ค.ศ.1914 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากก็ยิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นจนไม่เหลือเทคนิคเก่าๆ อีกเลย 
การเต้นรำที่ไม่มีกฎเกณฑ์นี้เกิดขึ้นจนกระทั่งปี ค.ศ.1918 หลังจากที่มีการประกาศยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงได้เริ่มมีการวางกฎเกณฑ์ขึ้นในปี ค.ศ.1920 โดย "เดอะด๊านซิ่งไทม์" (THE DANCING TIMES) ได้จัดให้มีการประชุมครูสอนเต้นรำขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเพื่อพยายามวางกฎเกณฑ์ และแบบแผนของการเต้นฟอกซ์ทร็อตและวันสเต็ป (ONE STEP) ให้เป็นมาตรฐาน และได้มีการสาธิตการเต้นรำจังหวะฟอกซ์ทร็อต โดยมี มัวไรซ์และลีโอโนรา ฮิวส์ (MAURICE AND LEONORA HUGHES) เป็นผู้สาธิตการเต้นด้วย ซึ่งครูสอนเต้นรำเหล่านี้เป็นกลุ่มนักเต้นรำรุ่นแรกๆ ของโลก ที่รับรู้ว่าการเต้นรำแบบเก่าๆ หมดไปแล้ว และได้พัฒนาเทคนิคการเต้นรำแบบบอลรูมใหม่ (MODERN BALLROOM) ให้มีพื้นฐษนการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ ด้วยการก้าวเท้าไปตามแนวทิศทางของการเดิน (ALIGNMENT) ในการลีลาศ 

ต่อมาในปี ค.ศ.1924 ครุสอนเต้นรำกลุ่มนี้ได้เลือกตั้งคณะกรรมการของสมาคมครูสอนเต้นรำในสาขาการเต้นรำแบบบอลรูมขึ้นเป็นครั้งแรก (COMMITTEE OF THE "BALLROOM BRANCH" OF THE IMPERIAL SOCIETY OF TEACHERS OF DANCING) ซึ่งคณะกรรมการชุดแรกนี้ประกอบด้วย โจเซฟิน แบรดเลย์ , อีฟ ทีนนีเกท สมิช , มัวรีล ซิมมอนส์ , ลิสลี ฮัมฟรีย์ และวิคเตอร์ ซิลเวสเตอร์ สมาคมครูสอนเต้นรำนี้ได้พัฒนาและกำหนดแบบแผนการเต้นรำมาจนถึงปัจจุบันที่เรียกกันว่าการเต้นรำ "สไตล์อังกฤษ" ซึ่งได้รับการเผยแพร่และมีอิทธิพลไปทั่วโลก

ในปี ค.ศ.1929 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการลีลาศ (OFFICIAL BOARD OF BALLROOM DANCING) ขึ้นในประเทศอังกฤษและได้ทำหน้าที่จัดการแข่งขันลีลาศขึ้นทุกปีโดยเริ่มจัดแข่งขันชิงแชมเปี้ยนสหราชอาณาจักรขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองแบลคพูล (BLACKPOOL) 

ปี ค.ศ.1950 ประเทศต่างๆ ได้ร่วมกันก่อตั้งสภาการลีลาศนานาชาติขึ้น (INTERNATIONAL COUNCIL OF BALLROOM CANCING : I.C.B.D.) และในปีเดียวกันนี้ได้มีการนำจังหวะเต้นรำใหม่ๆ มาเผยแพร่อีก เช่น จังหวะแมมโบ้ และ ชา ชา ช่า เป็นต้น และในปี ค.ศ.1953 ได้จัดให้มีการแข่งขันลีลาศชิงแชมเปี้ยนระหว่างประเทศขึ้นที่ อับเบิร์ต ฮอลล์ ในมหาลอนดอน 

ปี ค.ศ.1959 ได้มีการจัดแข่งขันลีลาศชิงแชมเปี้ยนโลกขึ้นที่ประเทศอังกฤษ โดยจัดแข่งขันทั้งประเภทสมัครเล่นและอาชีพ ตามกฎเกณฑ์ที่สภาการลีลาศระหว่างประเทศกำหนด จังหวะที่จัดให้มีการแข่งได้แก่ วอลทซ์แบบอังกฤษ ฟอกซ์ทร็อต แทงโก้ ควิกสเตป และควิกวอลทซ์หรือเวียนนิสวอลทซ์ ในโอกาสนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ได้แนะนำการเต้นรำจังหวะร็อคแอนด์โรลให้ชาวโลกได้รู้จัก 


ในสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ.1960 มีการเต้นรำจังหวะใหม่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นโดยอเมริกันนิโกร คือ จังหวะทวิสต์(TWIST) การเต้นรำจะใช้การบิดลำตัว เข่าโค้งงอ การเต้นไม่จำเป็นต้องจับคู่กัน คือต่างคนต่างเต้น และจังหวะฮัลเซ่ล ซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลก 

ปี ค.ศ.1970 จังหวะการเต้นรำที่เรียกว่าดิสโก้ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นจังหวะที่ผู้เต้นสามารถเต้นได้ตามลำพัง และรูปแบบการเต้นการเคลื่อนไหวขึ้นอยู่กับผู้เต้นเอง เป็นการเต้นรำที่ผู้เต้นมีอิสระ
ในการเคลื่อนไหวอย่างมาก


                 ปัจจุบันมีการเต้นรำแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกหลายจังหวะ เช่น แฟลชแด๊นซ์ (FLASH DANCE) เบรกแด๊นซ์ (BRAKE DANCE) และแร็พ (RAP) ซึ่งมักมีกำเนิดจากอเมริกันนิโกร และยังมีการเต้นรำโดยใช้ท่าบริหารร่างกายประกอบจังหวะดนตรี ที่เรียกว่า "แอโรบิกแด๊นซ์" ซึ่งได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน การเต้นรำในแบบต่างๆ เหล่านี้ไม่จัดอยู่ประเภทของการลีลาศ

การฝึกเต้น ballroom dance



คำถาม
  • การเต้นแบบ Ballroom Dance เริ่มขึ้นในช่วงใด
    1. ในช่วงที่มีความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
    2. ในสมัยก่อนพุทธกาล
    3. ในคริสตศตวรรษที่ 19
    4. ถูกทุกข้อ

    ในปี ค.ศ.ใด ที่ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการลีลาศ (OFFICIAL BOARD OF BALLROOM DANCING) ขึ้นในประเทศอังกฤษและได้ทำหน้าที่จัดการแข่งขันลีลาศขึ้นทุกปี
    1. ค.ศ. 929
    2. ค.ศ. 1529
    3. ค.ศ. 1929
    4. ค.ศ. 2529

    ในปี ค.ศ.1959 ได้มีการจัดแข่งขันลีลาศชิงแชมเปี้ยนโลกขึ้นที่ประเทศอังกฤษ โดยจัดแข่งขันทั้งประเภทสมัครเล่นและอาชีพ ตามกฎเกณฑ์ที่สภาการลีลาศระหว่างประเทศกำหนด ข้อใดไม่ใช่จังหวะที่จัดให้มีการแข่ง
    1. วอลทซ์แบบอังกฤษ
    2. ฟอกซ์ทร็อต
    3. แทงโก้
    4. เต้นแอโรบิก

    ในปี ค.ศ.1848 เซลลาริอุส ครูสอนเต้นรำที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีส่วนเคลื่อนไหวสำคัญในการปฏิรูปการเต้นรำ ได้เขียนหนังสือชื่อ "การเต้นรำที่ทันสมัย" ข้อใดคือข้อความในหนังสือเล่มนี้

    1. ในขณะนี้ผู้เต้นรำวัยหนุ่มสาวถูกกล่าวหาว่ามาเดินมิใช่มาเต้นรำ
    2. ในการเต้นรำต้องมีการปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศอย่างรุนแรง
    3. การเต้นรำสมัยใหม่เป็นรากฐานของการรำวงมาตรฐานในประเทศไทย
    4. ถูกทุกข้อ